วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552


แผนการสอนวิทยาศาสตร์ ป.4

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระกรเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อาหารและสารอาหาร เวลา 6 ชั่วโมง
เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
               อาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าไปแล้วไม่เป็นพิษต่อร่างกาย แต่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายด้านต่างๆ เช่น เสริมสร้างความเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ให้พลังงานและความอบอุ่น นอกจากนี้ยังทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้เป็นปกติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
     1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของอาหารได้
     2. นักเรียนสามารถบอกชื่ออาหารหลัก 5 หมู่ได้
     3. นักเรียนสามารถระบุชื่อและประเภทอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันได้
สาระการเรียนรู้
     อาหารหลัก 5 หมู่ ของคนไทย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักใบเขียวและพืชผักอื่นๆ ผลไม้ต่างๆไขมันจากพืชและสัตว์
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. สนทนากับนักเรียนโดยใช้คำถามนำ ดังนี้
          - ทำไมคนเราถึงต้องกินอาหาร (เพื่อการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ให้พลังงาน)
          - ถ้าคนเราไม่กินอาหารจะเป็นอย่างไร (ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่เจริญเติบโต ไม่มีพลัง)
ขั้นสอน
     1. ครูนำแผนภูมิภาพ “อาหารหลัก 5” หมู่มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนบอกชื่ออาหารหมู่ต่างๆจนครบทั้ง 5 หมู่
     2. ครู ให้นักเรียนบอกความหมายของอาหารและประโยชน์ที่ได้รับจากอาหารหมู่ต่างๆ ทั้ง 5 หมู่ แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างอาหารในแต่ละหมู่
     3. ครูนำตัวอย่างอาหารแต่ละหมู่มาให้นักเรียนดู และแผนภูมิภาพตัวอย่างอาหารแต่ละภาค แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับตัวอย่างที่ได้เห็น
     4. ครู-นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับ “ อาหารหลัก 5 หมู่ ” แล้วสรุปพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่

ขั้นสรุป
     1.ให้นักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับ “ อาหารหลัก 5 หมู่” พร้อมกับจดบันทึก
     2. ให้นักเรียนทำใบงาน
     3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
     1. แผนภูมิภาพอาหารหลัก 5 หมู่
     2. แผนภูมิภาพตัวอย่างอาหาร
     3. ตัวอย่างของจริง
     4. หนังสือเรียน
     5. ใบความรู้
     6. ใบงาน
     7. แบบทดสอบหลังเรียน
กระบวนการวัดและประเมินผล
     1. วิธีการวัด
          1.1 ประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
          1.2 สังเกตการตอบคำถาม ความสนใจและการแสดงความคิดเห็น
          1.3 การทดสอบ

     2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
          2.1 แบบสังเกตพฤติกรรม
          2.2 แบบวัดการปฏิบัติงาน
          2.3 แบบทดสอบ
          2.4 ใบงาน
     3. เกณฑ์การวัดและประเมิน
          3.1 แบบสังเกตพฤติกรรม เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80
          3.2 แบบทดสอบ เกณฑ์การผ่านร้อยละ 70
          3.3 แบบการวัดการปฏิบัติงาน เกณฑ์การผ่านร้อยละ 70

เครื่องฉายภาพ

เครื่องฉายภาพ

ลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ


เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ หรือบางทีเรียกว่า เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่นโปร่งใส (Transparency) หรืออาจเรียกว่า กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส ซึ่งอาจจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาวางบนเครื่องฉายซึ่งตั้งอยู่หน้าชั้นเรียน ภาพที่ปรากฏบนจอเหมือนการใช้กระดานชอล์ก ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนำมาใช้ โดยทั่วไปจะมีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องฉาย ดังนี้ 1) ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ 2) ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้ ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน 3) เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย 4) สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการสังเกตความสนใจของผู้เรียน เพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม 5) ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย เพราะผู้สอนสามารถวาด (หรือให้ผู้อื่นวาด) หรือถ่าย (เหมือนถ่ายเอกสาร) หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า เวลาใช้นำมาวางบนเครื่องฉายได้ทันที 6) สามารถแสดงการใช้แผ่นโปร่งใสให้เห็นเหมือนกับภาพเคลื่อนไหวได้ โดยใช้แผ่นโปร่งใสชนิดเคลื่อนไหวได้ (Motion or Polarized Transparency) วางบนเครื่องฉาย แล้วใช้กระจกตัดแสงอยู่ในกรอบกลม ๆ เรียกว่า Polarizing Filter หรือ Polaroid Spinner โดยเปิดสวิทซ์ให้กระจกตัดแสงหมุนใต้เลนส์ฉาย ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีลักษณะเหมือนการเคลื่อนไหวได้ เช่น ภาพภูเขาไฟระเบิด การสูบฉีดโลหิต การทำงานของเครื่องจักรเครื่องยนต์ เป็นต้น 7) สามารถดัดแปลงการใช้แผ่นโปร่งใสจากการฉายครั้งละแผ่น เป็นการฉายครั้งละหลาย ๆ แผ่นซ้อนกัน ซึ่งเรียกว่า Overlays 8) สามารถฉายวัสดุหรือเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใสได้ หรือวัสดุทึบแสงได้ ซึ่งจะให้ภาพเป็นภาพดำบนจอ ไม่แสดงรายละเอียดเหมือนวัสดุโปร่งใส จะเห็นเป็นเพียงรูปแบบของวัสดุ หรือเครื่องมือเท่านั้น 9) สามารถใช้แสดงการทดลองหรือสาธิต โดยนำวัสดุมาวางบนเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส วางแผ่นโปร่งใสบนแท่งแม่เหล็ก โรยผงตะไบเหล็กบนแผ่นโปร่งใส แล้วเคาะแผ่นโปร่งใส ภาพของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่นโปร่งใสจะปรากฏที่จอ





แผนภาพที่ 24 ลักษณะและส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ 8.2.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะโดยทั่ว ๆ ไป จะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เครื่องควรจะ ทราบไว้ เพื่อสามารถใช้เครื่องฉายได้ถูกต้อง ดังนี้ 1) หลอดฉาย (Projection Lamp) อยู่ภายในเครื่อง ทำหน้าที่ให้แสงสว่างมีกำลังส่องสว่างประมาณ 250-600 วัตต์ มีแผ่นสะท้อนแสงอยู่ภายในหลอด บางเครื่องอยู่ใต้หลอด ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดฉายขึ้นไป ช่วยให้แสงมีความเข้มมากขึ้น 2) เลนส์เฟรสนัล (Fresnel Lens) เป็นเลนส์ชนิดพิเศษเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมีร่องคล้ายแผ่นเสียง ทำหน้าที่เกลี่ยแสงจากหลอดฉายให้เสมอกันผ่านวัสดุฉายไปยังเลนส์ฉายพอดี 3) แท่นวางโปร่งใส (Platen) เป็นกระจกสำหรับวางแผ่นโปร่งใส ช่วยกรองความร้อนไม่ให้ผ่านมายังแผ่นโปร่งใสมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้แผ่นโปร่งใสเสียหายได้ อาจจะติดแผ่นกรองแสง (Glare Free) ใต้แท่นนี้ด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้ใช้มองแผ่นโปร่งใสได้สบายตาขึ้น 4) เลนส์ฉาย (Projection Lens) เป็นชุดของเลนส์นูน ทำหน้าที่รับแสงจากหลอดฉายซึ่งผ่านเลนส์เฟรสนัล ผ่านวัสดุฉาย และขยายภาพออกสู่จอ ที่ด้านบนของเลนส์ฉายจะมีกระจกเงาราบ ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากแนวดิ่งให้กลับไปในแนวระดับสู่จอ สามารถยกให้สูงหรือต่ำได้เพื่อให้ภาพบนจอสูงขึ้นหรือต่ำลง 5) ปุ่มปรับความชัด (Focusing Knob) ใช้สำหรับหมุนเพื่อให้เลนส์ฉายเลื่อนขึ้นเลื่อนลง ทำให้ภาพบนจอมีความคมชัด 6) พัดลม (Fan) ทำหน้าที่ระบายความร้อนภายในเครื่อง เหมือนเครื่องฉายอื่น ๆ การทำงานของพัดลมในเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะบางชนิดใช้การควบคุมแบบเทอร์โมสตัท (Thermostat) คือ พัดลมจะทำงานเองเมื่อเครื่องเริ่มร้อน และจะหยุดทำงานเองเมื่อเครื่องเย็นลง 7) สวิทซ์สำหรับเปิดปิดหลอดฉาย บางเครื่องมีปุ่มสำหรับหรี่และเพิ่มความสว่างของหลอดฉายได้ด้วย 8) ปุ่มสำหรับเปิดฝาเวลาเปลี่ยนหลอด